วิธีพิสูจน์สูตรต่างๆในเรื่องมูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money: TVM) ตอนที่ 1 กระแสเงินสดงวดเดียว
ตอนที่ 1:
กรณีจ่ายกระแสเงินสดครั้งเดียว (Single Cashflow)
สำหรับนักศึกษาการเงินที่อาจารย์ไม่ได้บังคับให้ซื้อเครื่องคิดเลขทางการเงิน เช่น Texas Instruments BA II Plus หรือ Casio FC-200V หรือรุ่นอื่นๆ ถ้านักศึกษาโชคดีพอ ในการเตรียมสอบอาจต้องท่องสูตรสำหรับการคำนวณหาค่าตัวแปรต่างๆตามที่โจทย์กำหนด ในบทความนี้จะอธิบายที่มาของสูตรต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาที่ไม่ทราบว่าพิสูจน์ยังไงได้ทราบและเพื่อให้ท่องสูตรให้น้อยที่สุดและสามารถขยายสูตรต่อไปในห้องสอบได้
มูลค่าอนาคต (FVN)
มูลค่าอนาคตในปีที่ N เกิดจากการคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นทบดอกไปเรื่อยๆจนถึงปีสุดท้าย สูตรคือ
FVN=PV(1+I)N (1)
มูลค่าปัจจุบัน (PV)
เกิดจากการคิดลด (Discount) มูลค่าอนาคตในปีที่ N มาเป็นมูลค่าปัจจุบัน หาได้จากการย้ายข้างของสมการที่ (1) นั่นคือ
PV=FVN(1+I)N (2)
อัตราคิดลด (I)
ได้จากการแก้สมการที่ (1) โดยการย้ายไปหารแล้วถอดรากที่ N เพื่อหาค่า I นั่นคือ
FVNPV=(1+I)N
(FVNPV)1/N=(1+I)
∴I=(FVNPV)1/N−1
(3)
จำนวนปี (N)
ได้จากการแก้สมการที่ (1) โดยการย้ายไปหารแล้ว take log เพื่อหาค่า N นั่นคือ
FVNPV=(1+I)N
ln(FVNPV)=ln(1+I)N=Nln(1+I)
∴N=ln(FVNPV)ln(1+I)=ln(FVN)−ln(PV)ln(1+I) (4)
กรณีการทบต้นทบดอกมากกว่าปีละหนึ่งครั้ง (m>1)
กรณีที่มีการทบต้นทบดอกมากกว่าปีละหนึ่งครั้ง เช่น m ครั้งต่อปี (เรียกว่า ความถี่ในการจ่ายดอกเบี้ยต่อปี) ให้มองการใช้สูตรเป็นต่องวดแทน โดยมีข้อที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมดังนี้
- สำหรับการใช้สูตรมูลค่าปัจจุบัน (PV) มูลค่าอนาคต (FV) เงินรายงวด (PMT) ต้องมีการแปลงตัวแปร คือ อัตราคิดลดต่องวดเท่ากับ อัตราคิดลดต่อปี (INOM) หารด้วยความถี่ในการจ่ายดอกเบี้ยต่อปี นั่นคือ INOMm และ จำนวนงวดเท่ากับ N×m
- สำหรับการใช้สูตรเพื่อหาอัตราคิดลดต่อปี (INOM) และจำนวนงวด (N) โดยตรง เวลาตอบคำถามที่มักถามเป็นต่อปี ให้แปลงค่ากลับ (ทำตรงข้ามกับข้อ 1) คือ อัตราคิดลดต้องคูณ m กลับ และ จำนวนปีต้องนำจำนวนงวดที่คำนวณได้หารด้วย m
นั่นคือสูตร (1) - (4) เมื่อนำความถี่ในการจ่ายดอกเบี้ยมาเกี่ยวข้องจะกลายเป็น
FVN=PV(1+INOMm)m×N,
PV=FVN(1+INOMm)m×N,
INOM=[(FVNPV)1/(m×N)−1]×m,
N=[ln(FVN)−ln(PV)ln(1+INOMm)]×1m.
ผู้เขียนจัดทำบทความนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าต่อ เนื่องจากเนื้อหาวิชา “การเงินธุรกิจ” หรือ “การจัดการการเงิน” หรือ “การบริหารการเงิน” มีเนื้อหามากจนไม่มีเวลาได้อธิบายเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหรือวิธีพิสูจน์สูตร บางสูตรในห้องเรียนได้ ในตอนต่อไปจะเป็นเรื่องของกระแสเงินสดรายงวด (Annuity) โปรดติดตามอ่านต่อนะครับ ช่วยแสดงความคิดเห็นต่อบทความนี้ด้วยนะครับ
กำลังหาพอดี ขอบคุณนะ
ตอบลบ